วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 9

1.  วัสดุกราฟิคมีลักษณะเป็นอย่างไรจงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ
   1  มีความง่ายต่อความเข้าใจ สามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว ชัดเจน ทั้งรูปภาพสัญลักษณ์ ตัวอักษรและถ้อยคำ
            2  การออกแบบต้องคำนึงถึงการเรียนรู้โดยเรียงลำดับ สัญลักษณ์ และตัวอักษร ตามลำดับขั้นตอน
            3  ต้องมีการเป็นจุดเด่นโดยการใช้สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง เส้น ทิศทาง
            4  มีความเป็นเอกภาพทั้งเนื้อหาและรูปแบบ
            5  มีความประณีต สวยงาม ตามคุณค่าของศิลปกรรม
2.  จงบอกคุณค่าของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ    1  ราคาถูก
            2  ครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง
            3  เก็บรักษาง่าย
3.  จงบอกประโยชน์ของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
   1  ประหยัดเวลา
            2  ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น
            3  ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
4.  วัสดุกราฟฟิคที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
   1  มีความง่ายต่อความเข้าใจ
            2  การออกแบบต้องคำนึงถึงการเรียนรู้โดยเรียงลำดับภาพ
            3  ต้องมีการเน้นจุดเด่นโดยการใช้สี ขนาด รูปร่าง
5. จงบอกหลักการออกแบบวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
   1  ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหาวิชา
            2  มีสัดส่วนดี องค์ประกอบทั้งหมดกลมกลืน เช่น รูปแบบ เส้น สี
            3  มีโครงสร้างที่เหมาะสม กลมกลืนกับวัฒนธรรม สังคม และความถูกต้องตามสถานที่เป็นจริง
6.  จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของสื่อวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
    

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6

1.  จงอธิบายความเป็นมาของงานกราฟฟิคมาพอเข้าใจ
ตอบ    มนุษย์เผ่าโครงมันยองได้ถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวันได้บนผนังถ้ำ  โดยใช้วัสดุที่มีความคม  เช่น  กระดูก หรือ หินแข็งๆ ขูดขีด เซาะเป็นร่อง ในธรรมชาติ มีทั้งลายเส้นและภาพระบายสีเป็นจำนวนมาก  นักโบราณคดี รูปภาพต่าง ๆ  เหล่านั้นถ่ายทอดความรู้สึกเกี่ยวกับความเชื่อ 3 ประการ คือ
            1  เกี่ยวกับความตาย
            2  ความอุดมสมบูรณ์
            3  การสำนึกในบาป

2.  จงบอกความหมายและคุณค่าของงานกราฟฟิคให้ถูกต้องและครอบคลุม
ตอบ
   คำว่ากราฟฟิคมาจากภาษากรีก  2  คำ  คือ
            1.  Graphikohos หมายถึง การเขียนภาพทั้งที่เป็นภาพสีและภาพขาวดำ
            2.  Graphing หมายถึง การเขียนตัวหนังสือและการใช้เส้นในการสื่อความหมาย

3.  จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดวัสดุที่ใช้ในงานกราฟฟิคมาอย่างน้อย 4 ประเภท

ตอบ    1.  กระดาษ โดยทั่วไปกระดาษเป็นวัสดุที่ผลิตมาจากเยื่อไม้ ซึ่งมีคุณสมบัติและคุณภาพแตกต่างกันกระดาษแต่ละชนิดมีความเหมาะสมกับงานต่างกัน
            2.  สี จำแนกได้หลายชนิดดังนี้
                  -  จำแนกตามคุณสมบัติของวัตถุที่ใช้ผสม
                  -  จำแนกตามลักษณะการใช้งาน
                  -  จำแนกตามคุณสมบัติทางกายภาพ
            3.  วัสดุขีดเขียน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                 -  ประเภทปลายปากแข็ง
                 -  ประเภทปลายปากอ่อน
           4.  วัสดุสำเร็จ มีหลายชนิด บางชนิดใช้ขูด ถู ติดลงบนแผ่นชิ้นงาน เรียกว่า อักษรลอก บางชนิดเป็นสติ๊กเกอร์ตัดเป็นตัวอักษรเป็นตัวๆรวมอยู่ในแผ่นเดียวกัน

4.  จงอธิบายความหมายของการออกแบบมาให้เข้าใจ
ตอบ
   การออกแบบเป็นศิลปะของการสร้างสรรค์แบบ โดยการนำเอาส่วนประกอบของการออกแบบมาจัดตามหลักเกณฑ์ของการออกแบบให้ได้แบบที่มีความสวยงามและน่าสนใจ

5.  จงยกตัวอย่างส่วนประกอบของการออกแบบมาอย่างน้อย 5 ประการ
ตอบ
    1.  เส้น
             2.  รูปร่าง
             3.  ที่ว่าง
             4.  พื้นผิว
             5.  สัดส่วน

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 5

จงตอบคำถามลงในช่องว่างของแต่ละข้อให้ได้ความสมบูรณ์และถูกต้อง

1.  การรับรู้  หมายถึง  
กระบวนการแปลความ หรือการตีความต่อสิ่งเร้า ข่าวสาร ที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 5
   
2. อวัยวะรับสัมผัสมี 5 ทาง   คือ   ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย

3.องค์ประกอบของกระบวนการรับรู้มี  3  ประการ ได้แก่   1  การรับสัมผัส  2  การแปลความหมายของการรับสัมผัส       ประสบการณ์เดิม

4. ธรรมชาติของการรับรู้มีอะไรบ้าง
              1.  การเลือกที่จะรับรู้
              2.  การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้าเป็นกลุ่ม ๆ
              3.  ความต่อเนื่อง
              4.  ความสมบูรณ์

5. สิ่งต่าง ๆ  ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้   ได้แก่  1   สิ่งเร้าภายนอก      2  สิ่งเร้าภายใน    3  คุณลักษณะของสิ่งเร้า

6. การเรียนรู้  หมายถึง   การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่ที่เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน ไม่ใช่มาจากการตอบสนอง

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4

จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง

1.  คำว่า  Communis   แปลว่า    คล้ายคลึง หรือ ร่วมกัน

2.  การสื่อความหมาย หมายถึง   พฤติกรรมที่สัตว์สังคมทุกชนิดใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อซึ่งกันและกัน แสดงถึงความเป็นหมู่เหล่าเผ่าพันธุ์เดียวกัน


3.  Sender  ------>
  message   ------>    channel    ----->      receiver

4.  สาร  หมายถึง   เนื้อหาสาระ ความรู้สึก ทัศนะคติ ทักษะ ประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด


5.  Elements  หมายถึง   องค์ประกอบย่อย ๆ

     ตัวอย่าง  เช่น  สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เป็นต้น

6.  Structure  หมายถึง  โครงสร้างที่เกิดจากองค์ประกอบย่อยๆมารวมกัน
     ตัวอย่าง  เช่น    คำ ประโยค หรือสีสรรของรูปร่าง


7.  Content  หมายถึง   ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิดความต้องการของผู้ส่ง


8.  Treatment  หมายถึง   วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถถ่ายทอดได้


9.  Code   หมายถึง     กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ
     ตัวอย่าง  เช่น    ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี การพูด กริยา




10.  อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก  เช่น   เสียงดังรบกวน, อากาศร้อน , แสงแดด

11.  อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน  เช่น   ความเครียด , ความวิตกกังวล , อาการเจ็บป่วย

12.  Encode หมายถึง การแปลความต้องการของคนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆได้

13.  Decode หมายถึง การเลือกสื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม

14.  จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
        กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง
        ซึ่งมีองค์ประกอบดัง นี้   ครู -->  เนื้อหาหลักสูตร  -->  สื่อหรือช่องทาง  -->  นักเรียน

15.  จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
        1.  ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ให้กับผู้เรียน
        2.  ผู้สอนไม่คำนึงถึงความสามารถของผู้เรียน
        3.  ผู้สอนไม่สร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน
        4.  ผู้สอนใช้คำยากทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจ
        5.  ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาวกวน
        6.  ผู้สอนใช้สื่อไม่เหมาะสม

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 2

1.  จงบอกความหมายของสื่อการสอนให้ถูกต้อง
ตอบ
      สื่อการสอนเป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ได้วางไว้

2.  จงอธิบายความสำคัญของสื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ
     1.   ช่วยสื่อความหมายที่ชัดเจนถูกต้อง
              2.   เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
              3.   สามารถนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลดี


3.  จงบอกถึงคุณสมบัติของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
      1.   สื่อประเภทวัสดุ
               2.   สื่อประเภทอุปกรณ์
               3.   สื่อประเภทคอมพิวเตอร์


4.  จงบอกถึงคุณค่าของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ
      1.   เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
               2.   สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจ
               3.   ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน
               4.   ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอน
               5.   ช่วยกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ



5.  จงยกตัวอย่างคุณค่าของ สื่อการสอนในคุณค่าด้านวิชาการ  คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้  คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษามา อย่างน้อยด้านละ 1 ตัวอย่าง
ตอบ     คุณค่าด้านวิชาการ
                    1  ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
                    2  ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช่สื่อการสอน
                    3  ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา
             คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
                    1  ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
                    2  ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
                    3  เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง
             คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
                    1  ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
                    2  ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ
                    3  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน
                    4  ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง

6.  จงจำแนกประเภทของสื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ    คุณค่าของสื่อการสอน จำแนกได้ 3 ด้าน คือ
            1.   การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ   แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                 1.1  วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย           
                         เช่น     -  แผนภูมิ (Charts)
                                      -  แผนภาพ (Diagrams)
                                      -  ภาพถ่าย (Poster)
                                      -  โปสเตอร์ (Drawing)
                                      -  ภาพเขียน (Drawing)
                                      -  ภาพโปร่งใส (Transparencies)
                                      -  ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
                                      -  แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
                                      -  เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
                  1.2  อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้
                          ได้แก่  -  เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
                                      -  เครื่องฉายสไลด์ (Slide Projectors)
                                      -  เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
                                      -  เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
                                      -  เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
                                      -  เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
                  1.3  วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities)
                          ได้แก่ -  บทบาทสมมุติ (Role Playing)
                                      -  สถานการณ์จำลอง (Simulation)
                                      -  การสาธิต (Demonstration)
                                      -  การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
                                      -  การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                                      -  กระบะทราย (Sand Trays)
             2.  การจำแนกสื่อการสอนตามแบบ (Form)   ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้
                  2.1  สิ่งพิมพ์ (Printed Materials)
                           -  หนังสือแบบเรียน (Text Books)
                           -  หนังสืออุเทศ (Reference Books)
                           -  หนังสืออ่านประกอบ (Reading Books)
                           -  นิตยสารหรือวารสาร (Serials)
                  2.2  วัสดุกราฟิก (Graphic Materials)
                           -  แผนภูมิ (Chats)
                           -  แผนสถิติ (Graph)
                           -  แผนภาพ (Diagrams)
                           -  โปสเตอร์ (Poster)
                           -  การ์ตูน (Cartoons)
                   2.3  วัสดุและเครื่องฉาย (Projector materials and Equipment)
                           -  เครื่องฉายภาพนิ่ง (Still Picture Projector)
                           -  เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture Projector)
                           -  เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
                           -  ฟิล์มสไลด์ (Slides)
                           -  ฟิล์มภาพยนตร์ (Films)
                           -  แผ่นโปร่งใส (Transparencies)
                   2.4  วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission)
                           -  เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Disc Recording)
                           -  เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder)
                           -  เครื่องรับวิทยุ (Radio Receiver)
                           -  เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
        3.  การจำแนกสื่อการสอนตามประสบการณ์  จำแนกสื่อการสอนโดยยึดประสบการณ์เป็นหลักเรียงตามลำดับจากประสบการณ์ที่ง่ายไปยาก 10 ขั้น เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)
             ขั้นที่ 1  ประสบการณ์ตรง (Direct Experiences) มีความหมายเป็นรูปธรรมมากที่สุดทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เช่น เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
              ขั้นที่ 2  ประสบการณ์รอง (Verbal Symbols) เป็นกรณีที่ประสบการณ์หรือของจริงมีข้อจำกัด จำเป็นต้องจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาศึกษาแทน เช่น หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง การแสดงเหตุการณ์จำลองทางดาราศาสตร์
              ขั้นที่ 3  ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experiences) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์ตรงหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอดีตหรืออาจเป็นความคิด ความฝัน สามารถเรียนด้วยประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์จำลองได้  เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ เป็นต้น
              ขั้นที่ 4  การสาธิต (Demonstration) เป็นการอธิบายข้อเท็จจริงลำดับความคิดหรือกระบวนการเหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการความเข้าใจ ความชำนาญหรือทักษะ เช่น การสาธิตการผายปอดการสาธิตการเล่นของครูพละ เป็นต้น
              ขั้นที่ 5  การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) เป็นการพาผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ประสบการณ์นี้มีความเป็นนามธรรมมากกว่าการสาธิต เพราะผู้เรียนแทบไม่ได้มีส่วนในกิจกรรมที่ได้พบเห็นนั้นเลย
              ขั้นที่ 6  นิทรรศการ (Exhibits) เป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้รับด้วยการดูเป็นส่วนใหญ่ อาจจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ   เช่น ของจริง หุ่นจำลอง วัสดุสาธิต แผนภูมิ ภาพยนตร์ เป็นต้น
              ขั้นที่ 7  โทรทัศน์และภาพยนตร์ (Television and Motion Picture) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากกว่าการจัดนิทรรศการ เพราะผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยการดูภาพและฟังเสียงเท่านั้น
              ขั้นที่ 8  ภาพนิ่ง วิทยุและการบันทึกเสียง (Still Picture) เป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ทางใดทางหนึ่งระหว่างการฟังและการพูด ซึ่งนับเป็นนามธรรมมากขึ้น
              ขั้นที่ 9  ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด บรรยาย การปราศรัยคำโฆษณา ฯลฯ ดังนั้นผู้เรียนควรมีพื้นฐานเช่นเดียวกับทัศนสัญลักษณ์นั้น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี
              ขั้นที่ 10 วัจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) ได้แก่ คำพูด คำอธิบาย หนังสือ เอกสาร แผ่นปลิว แผ่นพับที่ใช้ตัวอักษร ตัวเลข แทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ นับเป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด

7.  จงบอกหลักการใช้สื่อการสอนให้ถูกต้องชัดเจน
ตอบ
       1.   การวางแผน
                2.   การเตรียมการ
                3.   การนำเสนอสื่อ
                4.   การติดตามผล

8.  จงอธิบายข้อดีและข้อจำกัดของสื่อการสอนให้ถูกต้องอย่างน้อย 2 ชนิด
ตอบ
       1.   หนังสือ สมุดคู่มือ เอกสารอื่นๆ
                      -  ข้อดีคือ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด  โดยการอ่าน
                      -  ข้อจำกัดคือต้นทุนการผลิตสูง
                2.   ตัวอย่างของจริง
                      -  ข้อดีคือแสดงภาพตามความเป็นจริง
                      -  ข้อจำกัดคือจัดหาลำบาก

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1

1.จงบอกความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
ตอบ      เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอากระบวนการ  วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนวัตกรรม หมายถึง ความคิดและ การกระทำใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สำหรับนวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่ส่งเสริมให้ให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

2.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่างๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ       1.  เทคโนโลยีทางการแพทย์
             2.  เทคโนโลยีทางการทหาร
             3.  เทคโนโลยีทางการเกษตร
             4.  เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
             5.  เทคโนโลยีทางการค้า

3.จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายทางเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
ตอบ     ทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ทัศนะนี้มุ่งเน้นไปที่วัสดุ อุปกรณ์หรือผลิตผลทางวิศวกรรมเป็นสำคัญแต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่นๆ เพราะเห็นว่าการนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุมาช่วยในการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น
           ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ทัศนะนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไรจะจัดการเรียนการสอนหรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างไร

4.จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่างๆ อย่างน้อย ระดับ
ตอบ     1.  บุคคลธรรมดา ความหมายตามพจนานุกรมอธิบายว่า การศึกษาเเป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม
           2.  บุคคลทางวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมอธิบายว่า การศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต  ซึ่งจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ  เพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ
           3.  บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกันแบ่งได้เป็น 2 ทัศนะ คือ  ทัศนะแนวสังคมนิยม  และทัศนะเสรีนิยม

5.เทคโนโลยีทางการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ     มี  3  ระดับ
            1.  ระดับอุปกรณ์การเรียน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครูสัมผัสจากการใช้หูฟังครูพูด
            2.  ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเองโดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป
            3.  ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้างสามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก

6.จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ     เทคโนโลยีเป็นการนำเอากระบวนการต่างๆ วิธีการแนะแนวคิดใหม่ ๆ  และนวัตกรรมก็เป็นการกระทำสิ่งใหม่ส่วนความแตกต่าง คือ เทคโนโลยีจะนำแนวคิดมาใช้หรือประยุกต์อย่างมีระบบส่วนนวัตกรรมจะนำความคิดมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน

7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ    1.  ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น
          2.  ขั้นการพัฒนาการ
          3.  ขั้นการนำไปปฏิบัติการ

8.จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ    1.  ทำให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น
          2.  สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
          3.  ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น
          4.  มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอนให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
          5.  ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้าน
          6.  ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น

9.จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ    1.  การสอนแบบโปรแกรม
          2.  ศูนย์การเรียน
          3.  ชุดการสอน
          4.  การสอบแบบจุลภาค
          5.  เครื่องช่วยสอน

10.จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ    1.  การเพิ่มจำนวนประชากร
          2.  การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
          3.  ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ ๆ

11.จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ    1.  การไม่นับถือตน
          2.  การไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
          3.  การขาดลักษณะที่พึงประสงค์

12.จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ      ตัวอย่างของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์  เช่น ความโลภ ความหลง ความเห็นแก่ตัว
        แนวทางแก้ไข
              1.  กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
              2.  สามารถตัดสินใจ
              3.  รู้จักแสวงหาความรู้
              4.  รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
              5.  มีความรับผิดชอบ